วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 8 ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ

บทที่ 8 ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ


บทที่ 8 ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ

ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนสินค้าอัตโนมัติ Automated Storage/Retrieval System (AS/RS)
คือการทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดงั ที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุการรับวัสดุรวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงาน ร่วมกับโรงงานและคลังสินค้าซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะ ต่าง ๆ ได้โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์แบบ AS/ RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/ RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ


ระบบ AS/RS จะมีการทำงานควบคู่อัตโนมัติอย่างเป็นระบบอยู่ ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ใช้เทคโนโลยีโรบอทอัตโนมัติ กับซอร์ฟแวร์ที่ สามารถพัฒนา นำไปใช้ได้กับทุกพื้นที่
ประโยชน์ที่จะได้รับลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้าเพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้าเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้าทำงานรวดเร็ว แม่นยำบริหารทรัพยากรบุคคลประหยัดพลังงานไฟฟ้า

วัตถุประสงค์ของระบบการจัดเก็บ สินค้าอัตโนมัติAS/ RS 
1. เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการคลังสินค้าโดยทำให้เกิดการจัดเก็บหรือนำผลิตภณัฑ์ออกมา
อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในด้านความรวดเร็ว ความถูกต้อง การลดจำนวนพนักงาน
 2. เพื่อให้มีข้อมูล ณ เวลาปัจจุบัน (Real Time) สามารถนำไปใช้ในการรวบรวมข้อมูล เพื่อทำการคิดต้นทุน และงานด้านบัญชีภายในโรงงาน ทั้งนี้เนื่องมาจากการเก็บสินค้าและการนำผลิตภณัฑ์ไปใช้ถ้าถูกติดตามในรูปแบบอิเล็คทรอนิคส์จะช่วยให้เกิดความถูกต้องแม่นยำและ รวดเร็ว

การทำงานของระบบจัดเก็บในคลังสินค้าที่มีการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ การจัดเก็บวัสดุการเบิกจ่ายวัสดุรวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์
ขนถ่าย
 1. รับ/ เบิกสินค้าแบบ FIFO
 2. ทำงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
 3. ลดการใช้แรงงานคน
4. ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก
 ส่วนประกอบของ AS/ RS
1. ชั้นวางของ (Rack)
2. อุปกรณ์หยิบ หรือจัดเก็บผลิตภณัฑ์(S/ R Machine, Crane, หรือ Robot Arm)
3. ระบบ Input/ Output
4. ระบบควบคุม (Control System)
ประเภทของระบบ AS/ RS แบ่งออกเป็ นแบบต่าง ๆ ดังนี้


1. Unit load AS/ RS 
1.1 ขนถ่ายวสัดุที่เป็น Pallet, ภาชนะบรรจุถุง หรือกล่องต่าง ๆ (Package) ที่มีขนาด มาตรฐาน
1.2 ระบบ AS/ RS แบบ Unit load จะทำงานที่น้ำหนักของวสัดุต่อหน่วย มีค่าตั้งแต่ 1,000 ปอนด์ขึ้นไป 1.3 แต่ละช่องวิ่ง (Aisle) จะมี S/ R Machine ที่สามารถเคลื่อนที่ไปตามรางและมีระบบเลื่อนสำหรับรับ-ส่งวัสดุไปยังพื้นที่จัดเก็บ
 1.4 ระบบประกอบไปด้วยการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์, S/ R Machine ที่จะเคลื่อนที่ ไปตามรางและมีระบบเลื่อนสำหรับรับ-ส่งวัสดุ
1.5 เป็นระบบอัตโนมัติขนาดใหญ่


ตัวอย่าง







2. Deep - Lane AS/ RS 
2.1 ใช้กับการจัดเก็บที่มีความหนาแน่นสูง มีปริมาณสินค้าคงคลังสูงแต่ชนิดของ สินค้า (SKUs) น้อย
2.2 การทำงานค่อนข้างคล้ายกับระบบ Unit - Load แต่ใน ช่องจัดเก็บมีความลึก สามารถจัดเก็บได้มากกว่า หน่วย
2.3 ชั้นวางมีการออกแบบให้น้ำหนักบรรทุกไหลเข้าไป (Flow - Through Designed) โดยแต่ละ Rack ออกแบบให้ Flow - Through การจัดเก็บวัสดุทำงานด้านหนึ่งการรับวัสดุจะทำงาน อีกด้านหนึ่ง
2.4 การออกแบบ S/ R Machine จะเข้าไปยังจุดจัดเก็บ โดยการส่งพาหนะเข้าไปในชั้น วางตามความลึกที่ต้องการ (Rack - Entry Vehicle) วางวัสดุลงและกลับมายังS/ R Machine
2.5 สามารถเก็บ Load ได้ 10 หรือมากกวา่ ใน Single Rack




3. Miniload AS/ RS

3.1 ใช้สำหรับการขนถ่ายวัสดุที่มีขนาดบรรทุกน้อย ๆ เช่น ชิ้นส่วนจะมีการบรรจุวัสดุหรือสินค้าหลายชนิดใน ภาชนะบรรจุ (Container) ใช้กับ Load ขนาดเล็กซึ่งบรรจุในถังเก็บภายในระบบจัดเก็บ
3.2 น้ำหนักของวัสดุต่อหนึ่งภาชนะบรรจุ มีค่าต่า กว่า 750 ปอนด์ มีความหนาแน่นของการจัดเก็บสูง
3.3 โดยทั่วไปจะติดตั้งในอาคารที่สร้างอยู่ก่อนแล้ว มีขนาดที่ความสูงไม่เกิน 30 ฟุตลักษณะและขนาดของภาชนะบรรจุขึ้นอยู่กับการจัดเก็บในแต่ละสถานที่
3.4 ระบบการทำงาน S/ R Machine จะทำการเคลื่อนที่รับ-ส่ง ลังหรือกล่องไปที่จุดรับ-ส่ง
3.5 ชิ้นส่วนหรือสิ่งของที่อยู่ในลังจะสามารถหยิบออกไปเพียงบางชิ้นหรือทั้งหมดก็ได้
3.6 ในระบบ Mini - Load ที่จุดรับ-ส่ง มีคนงานที่ทำหน้าที่การรับและส่งวัสดุจากS/ R Machine







4. Man - On - Board AS/ RS หรือ Manaboard AS/ RS
4.1 ระบบ Man - On - Board หรือที่เรียกว่า Man - Aboard เป็นการแก้ปัญหาความต้องการ การรับวัสดุแบบเจาะจงจากการจัดเก็บ
4.2 ในระบบนี้ผู้ทำงานจะควบคุมอยู่บน S/ R Machine ใช้คนในการขับเคลื่อน S/ RMachine มีการหยิบวัสดุแต่ละชิ้นจากตำแหน่งที่เก็บได้โดยตรง
4.3 ความแตกต่างกับระบบ Mini - Load คือ ไม่จำเป็นต้องนำลังหรือกล่องออกมายังจุดรับ-ส่ง แล้วนำเข้าไปเก็บ แต่ผู้ทำงานสามารถหยิบสิ่งที่ต้องการออกมาจากจุดจัดเก็บได้ในทันทีซึ่งหมายถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเวลาการทำงาน





            5. Automated Item Retrieval System
5.1 ระบบแบบ Automated Item Retrieval มีการออกแบบให้สามารถรับวัสดุเฉพาะโดยใช้การทำงานออกแบบชั้นวางแบบ Flow - Through ให้การจัดเก็บวัสดุทางด้านหลัง และรับวัสดุออกทางด้านหน้า ด้วยการผลักบนชั้นวางแบบ Flow - Through ให้วัสดุไหลไปบนสายพานลำเลียง
5.2 การจัดเก็บสามารถทำงานได้แบบ FIFO
5.3 ใช้สำหรับวัสดุเป็นชิ้น ๆ หรือ Load ที่มีขนาดเล็กที่เก็บในกล่อง      





6. Vertical lift storage systems (VL-AS/ RS)
6.1 ระบบ Vertical Lift Storage Systems หรือ Vertical Lift Automated Storage/Retrieval Systems (VL-AS/ RS) แตกต่างจาก AS/ RS ทั่ว ๆ ไปที่ออกแบบไปตามแนวขวาง
6.2 VL-AS/ RS ออกแบบไปในแนวดิ่งให้ระบบมีความสูงมากเพื่อรองรับกับลักษณะของสินค้า โดยทั่วไปสูงตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ซึ่งจะทำให้สามารถจัดเก็บสินค้าได้ปริมาณมาก แต่ใช้พื้นที่น้อย
6.3 ใช้หลักการเหมือนแบบอื่น ๆ คือ เข้าไปรับ Load ตามช่องทางตรงกลาง ยกเว้นมันมีช่องทางในแนวตั้ง
6.4 สามารถเก็บพัสดุขนาดใหญ่ได้

บทที่ 7 ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

ระบบสายพานลำเลียง (Conveyor) ระบบสายพานลำเลียง  คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน  
       ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต

ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) มี ประเภท

1. ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)


ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือ

วัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่างระดับ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10 องศา และไม่เกิน 45องศา เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray 

2. ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)



ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง อาหาร เป็นต้น


3. ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)


ะบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด

4. ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System


ะบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System (เครื่องตรวจหาโลหะ) มีระบบสายพานลำเลียง แบบ คือ 

1.แบบพลาสติก 

2. แบบ PVC สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุเข้าเครื่องตรวจหาโลหะ หลังจากชิ้นงานหรือวัสดุผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว เมื่อมาถึงเครื่องตรวจหาโลหะ ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปแบบชิ้นงาน เช่น ซองพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ยาง เครื่องตรวจหาโลหะใช้พลังงานแม่เหล็ก โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Electro Magnetic Field) เมื่อมีโลหะ เช่น เหล็กปนอยู่ในแผ่นยาง เครื่องจะทำการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเตือน ผลักออก หรือหยุดเครื่อง



ระบบ Automated  Guided Vehicle System ( AGV)

 รถ AGV คืออะไร รถ AGV (Auto Guiding Vehicle) หรือเรียก กันว่า เป็นเครื่องจักรประเภท รถอัตโนมัติชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ประเภทรถ Fork lift ความแตกต่างอยู่ที่รถ AGV จะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์และถูกกำหนดเส้นทางในการขนส่งที่ชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนในการควบคุม การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภทรถ AGV ต้องติดตั้งเส้นทางการวิ่งของรถ AGV ซึ่งอาจ มีการฝังสายไฟไว้ใต้พื้น โรงงาน ตามเส้นทาง การวิ่งของรถ AGV การ ควบคุมรถ AGV สามารถควบคุมได้ทีละหลาย ๆ คันโดยใช้คำสั่งในการควบคุมเพียงชุดเดียว และ ให้รถ AGV แต่ละคันสามารถสื่อสารถึงกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของรถ AGV หรือเพื่อป้องกันการกีดขวางการจราจรหากมีรถ AGVอีกคันจอดขวางอยู่ในจุดรับส่งวัสดุข้อดี 
รถ AGV สามารถขับเคลื่อนได้โดยไม่ต้องใช้พนักงานขับ
 - รถ AGV ทํางานได้ตรงเวลา ไม่ต้องการเวลาหยุดพัก และไม่ลาหยุดหรือลากิจ
 - รถ AGV ลดความผิดพลาดจากคน เช่น การขับเฉี่ยว ชน ที่เกิดจากความประมาท
 - รถ AGV ลดความล่าช้าของการส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์จากพนักงานขับ และการจราจรในโรงงาน
 - รถ AGV สามารถรับน้ําหนักได้มาก จึงลดความเมื่อยล้าจากพนักงานเข็นขนส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์
 - รถ AGV ลดปัญหามลพิษในโรงงาน เนื่องจากใช้แบตเตอร์รี่
 - รถ AGV สามารถลดค่าใช้จ่ายจากค่าแรงงานและค่าบํารุงรักษารถขนส่ง (โฟล์คลิฟท์) เป็นต้น
 การใช้งานรถ AGV เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อระบบ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

 1) การเพิ่มจำนวนของรถ AGV
2) การเพิ่มความเร็วของรถ AGV
3) การเปลี่ยนแปลงวิธีการวิ่งของรถ AGV จากทิศทางเดียวเป็น ทิศทาง
 4) การเพิ่มความจุของรถ AGV


     ซึ่งแต่ละวิธีในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของรถ AGV จะมีข้อจำกัดในตัวเอง เช่น 

การเพิ่มจำนวนรถ AGV จะต้องมีการลงทุนสูง เกิดความแออัดในระบบมากขึ้น การเพิ่มความเร็วของรถก็เป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ แต่อาจส่งผลกระทบต่อการควบคุมความปลอดภัย ในการทำงาน การเปลี่ยนแปลงทิศทางการวิ่งจากทิศทางเดียวเป็น ทิศทาง ก็เป็นเรื่องยุ่งยากในการ ออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ ในการควบคุม ส่วนการเพิ่มความจุบน รถ AGV ถึงแม้ จะต้องลงทุนบ้างแต่ก็อยู่ในวิสัยที่สามารถที่จะทำได้
         จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของรถ AGV แต่การ เพิ่ม
ประสิทธิภาพของรถ AGV เป็นเพียงส่วนหนึ่งในระบบการผลิต การจะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิตนั้นระบบการขนส่งชิ้นงานก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน การเลือกวิธีการ ขนส่งของรถ AGV ไม่ว่าจะเป็นวิธีการหยิบชิ้นงานหรือการวางชิ้นงานจะทำให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น เนื่องจากการเลือกวิธีการหยิบและ การวางชิ้นงานที่เหมาะสมจะทำให้เราสามารถลด ระยะเวลารอคอยของชิ้นงาน และยังสามารถป้องกันการเกิดคอขวดตามสถานีต่าง ๆ ได้อีกด้วย

 
   หลักการใช้งานและการควบคุมความปลอดภัยของรถ AGV ระบบ AGV (Automated Guided Vehicle 

System หรือ AGVS) เป็นระบบขนถ่ายวัสดุที่ใช้รถทำงานได้โดย ให้รถแต่ละคันมีอิสระต่อกัน สามารถขับเคลื่อน ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถูกนำทางด้วย เส้นทางขนส่งที่ฝังอยู่บนพื้นของโรงงาน รถจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งอยู่ในตัวรถซึ่งจะทำให้รถวิ่งได้ในระยะหนึ่งจากนั้นต้องทำการอัดแบตเตอรี่ใหม่การกำหนดเส้นทางขนส่งของระบบ AGV นี้อาจจะทำได้โดยใช้สายไฟฟ้าฝังอยู่กับพื้นโรงงาน หรือ ใช้สีสะท้อนแสงทาบนพื้นโรงงานก็ ได้รถจะใช้เซนเซอร์ (Sensor) เป็นอุปกรณ์ในการนำทาง รถ AGV ที่ใช้งานกัน อยู่ในปัจจุบันมี หลายชนิดด้วยกันคือ

    1. AGV Driver Train: รถ AGV ชนิดนี้จะประกอบด้วยรถลาก (ซึ่งเป็น AGV) ที่ใช้ ลากขบวนของรถ
พ่วง รถ AGV ชนิดนี้เป็นรถ AGV ชนิดแรกที่ผลิตขึ้นมา และปัจจุบันยังคงเป็นที่นิยมอยู่ รถ AGVประเภทนี้เหมาะสมที่จะใช้กับโหลดที่มีน้ำหนักมากที่จะต้องขนย้ายเป็นระยะทางไกล ๆ ในคลังสินค้าหรือในโรงงาน และในระหว่างเส้นทางการขนส่ง อาจจะต้องมีการโหลดชิ้นงานเข้าหรือออกจากรถ AGV ก็ได้






2. AGV Pallet Truck: รถ AGV ประเภทนี้จะใช้ขนส่งโหลดที่วางอยู่บนพาเล็ตไปบน เส้นทางการขนส่งที่กำหนดให้การทำงานแบบนี้เดิมทีคนงานจะทำหน้าที่ โหลดพาเล็ตขึ้นมาไว้บนรถด้วยซ่อม (Fork)แล้วขับรถไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ในการใช้งานรถ AGV ประเภทนี้ผู้ควบคุมเพียงแค่ขับรถAGV ไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของเส้นทางเดินรถ จากนั้นทำการโปรแกรมจุดหมาย แล้วปล่อยให้รถ AGVเคลื่อนที่ไปยังจุดหมายเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งรถ AGV ชนิดนี้ปัจจุบันคือรถForklift AGV นั่นเอง



3. AGV Unit Load Carrier: รถ AGV ชนิดนี้จะใช้สำหรับเคลื่อนย้าย Unit Load จาก สถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง โดยปกติแล้วรถ AGV ประเภทนี้จะมีระบบนำชิ้นงานเข้าออกจาก รถ AGV แบบอัตโนมัติติดตั้งอยู่ด้วย ซึ่งระบบนี้อาจ มีการขับเคลื่อนด้วย ลูกกลิ้ง สายพาน แท่นลิฟต์ หรืออุปกรณ์ทางกลอื่น ๆ 

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2562

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ใบงานที่ 3 บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร (เทคโนโลยี 4G ในประเทศไทย)

เทคโนโลยี 4G ในประเทศไทย



เทคโนโลยี 4G สามารถขยายขีดจำกัดของสมาร์ทโฟนออกไปได้อีกทั้งในด้านการติดต่อสื่อสารและมัลติมีเดีย และเทคโนโลยีนี้เองที่จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขประตูไปสู่ยุคใหม่ของเศรษฐกิจและไลฟ์สไตล์ แต่สุดท้ายแล้ว ใครกันที่จะได้กุญแจดอกนี้ไปครอง?
จุดเริ่มต้นของ 4G LTE ในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อราวๆ 3 ปีมาแล้ว เมื่อ TrueMove H ได้เปิดให้บริการ 4G ครั้งแรกอย่างจริงจังในไทย โดยให้บริการบนคลื่นความถี่ 2100MHz ความกว้าง 10Mhz จะเรียกว่า True คือผู้บุกเบิก 4G ในประเทศไทยก็ว่าได้
จุดพลิกผันสำคัญของวงการ 4G ในประเทศไทยเกิดขึ้นในปลายปี 2015 เมื่อทาง กสทช. ได้เปิดประมูลสัมปทานการให้บริการคลื่น 4G 900MHz ซึ่งยักษ์ใหญ์ทั้ง 3 ค่ายอย่าง AIS, Dtac และ True ต่างก็ตบเท้าเข้ามาร่วมประมูลกันอย่างพร้อมหน้า อีกทั้งยังมี JAS น้องใหม่ของวงการเข้ามาร่วมวงด้วย การประมูลจึงเป็นไปด้วยความดุเดือดชนิดไม่มีใครยอมใคร หลังจากที่ต่อสู้ยืดเยื้อมานานกว่า 87 ชั่วโมงในที่สุด JAS และ True ก็ชนะการประมูลไป แต่ในเวลาต่อมา JAS กลับไม่สามารถหาเงินมาชำระกับทาง กสทช. ในงวดแรกได้ในเวลาที่กำหนด AIS จึงเข้าไปรับช่วงต่อคลื่นความถี่แทนแบบส้มหล่น ส่วน Dtac นั้นถอนตัวออกจากการประมูลไปกลางคันทำให้มีอนาคตค่อนข้างน่าเป็นห่วง เนื่องจากคลื่นที่ Dtac ถืออยู่ตอนนี้ทั้ง 850MHz และ 1800MHz จะหมดอายุในปี 2018 หากไม่มีการเปิดประมูลคลื่นที่หมดอายุไปแล้วให้นำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคตอันใกล้ Dtac จะเหลือคลื่นความถี่ 2100 MHz ไว้ให้บริการเท่านั้น ซึ่งจะเสียเปรียบคู่แข่งอย่างมาก
ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการประมูลในครั้งนี้ไปเต็มๆ คือ True เนื่องจากแต่เดิมก็ถือทั้งคลื่น 850MHz และ 2100MHz อยู่แล้ว เมื่อได้คลื่น 900MHz จากการประมูลครั้งล่าสุดและคลื่น 1800MHz จากการประมูลก่อนหน้านี้มาเสริมทัพเข้าไปอีกทำให้ตอนนี้ True กลายเป็นผู้ให้บริการที่ถือครองคลื่นความถี่มากที่สุดในทุกค่าย และยังมีแบนด์วิธกว้างที่สุด (55MHz) อีกด้วย

ตารางสรุปการถือครองคลื่นของเอกชนในประเทศไทย โดยคุณ @yoware ล่าสุดคลื่น 900MHz ของ JAS ตกไปอยู่ในมือของ AIS เรียบร้อยแล้ว
การถือครองย่านความถี่ครอบคลุมถึง 4 คลื่นนี้เองทำให้ True ค่อนข้างได้เปรียบมากในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 4G ในประเทศไทย โดยต่อยอดออกมาเป็น Truemove H 4G+ ซึ่งยกระดับของ 4G ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการนำคลื่นแต่ละย่านความถี่มามัดรวมกันในลักษณะ Carrier Aggregation (CA) ซึ่งเรียกว่า 3CA ซึ่ง TrueMove H เป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในไทย ณ. ขณะนี้ และเพิ่มอัตราการส่งสัญญาณด้วย 4x4 MIMO ซึ่งทำความเร็วได้สูงสุด 300 Gbps และในอนาคตสูงสุดได้ถึง 1Gbps เลยทีเดียว แต่ในขณะเดียวกัน AIS ก็ได้เปิดตัว AIS 4.5G ออกมาแข่งขันกับ True เช่นกันถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความใกล้เคียงกัน แต่ยังรวมคลื่นได้น้อยกว่า True 3CA (รวม 3 คลื่น) AIS 2CA (รวม 2 คลื่น) เนื่องจากจำนวนคลื่นที่ถือครอง True นั้นมีมากกว่าทำให้ตอนนี้ True ดูจะมีภาษีดีกว่าในสังเวียน 4G นี้
4G กับ Internet of Things ในประเทศไทย
Internet of Things (IoT) คืออะไร ? ถ้าจะอธิบายง่ายๆเราจะเห็นว่าปัจจุบันนี้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ไม่ได้มีเพียงแค่คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตอีกต่อไป แต่ยังมีแก็ดเจ็ตอีกหลายอย่าง เช่น Smart TV, Smartwatch, รถยนต์และอื่นๆ อีกมากมาย การมองการเชื่อมต่อในภาพใหญ่ทั้งหมดนี่แหล่ะที่เราเรียกกันว่า Internet of Things (IoT)  ถ้าเราสามารถสร้างนวัตกรรมบนพื้นฐานของ IoT ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตสิ่งนี้จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของคนรุ่นใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ใครที่เล็งเห็นโอกาสตรงนี้และคว้าเอาไว้ได้ก่อนก็จะได้เปรียบคู่แข่งไปอีกก้าว  ณ.ขณะนี้ผู้ที่ให้ความสำคัญกับ IoT ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คงจะเป็น True ที่มีทั้ง Car WiFi, CCTV, Kidz Watch และแก็ดเจ็ตอื่นๆ ซึ่งในส่วนของอีก 2 เจ้านั้นยังไม่เห็นอย่างเป็นรูปธรรมมากนัก นอกจากสัญญาณ 4G+ แล้ว True มีเครือข่าย WiFi กว่า 160,000 จุดทั้งประเทศ ที่ถือว่าเป็นจุดแข็งทำให้ True มี Digital Infrastructures ที่แข็งแรงและมีประสิทธิภาพเป็นอันดับต้นๆ จุดเดียวที่ทำให้ True ดูจะเสียเปรียบคู่แข่งน่าจะเป็นเรื่องของฐานผู้ใช้ที่อาจจะน้อยกว่า AIS และ Dtac แต่เมื่อดูจากการลงทุนปรับปรุงเครือข่ายและ infrastructure อื่นๆ ตามกลยุทธ์ที่ True วางไว้เชื่อว่าทั้ง 2 เจ้าถ้าไม่ขยับเข้ามาอย่างจริงจังอาจจะเสียฐานลูกค้าให้กับ True ในอนาคตก็เป็นได้ 

ใครจะพาประเทศไทยไปถึง 4.0?
อย่างที่กล่าวไปตั้งแต่ต้นว่า เทคโนโลยี 4G เป็นดั่งกุญแจสำคัญที่จะไขประตูไปสู่ประเทศไทย 4.0 แม้ว่าทั้ง AIS, Dtac และ True จะให้บริการ 4G LTE เหมือนกัน แต่หากมองดูโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรที่มีอยู่ในครอบครองแล้ว True ดูจะได้เปรียบกว่าเจ้าอื่นๆ เพราะมีคลื่นความถี่ถึง 4 ย่านด้วยกัน และยังมีแบนด์วิธถึง 55 MHz ซึ่งมากที่สุดณ.ขณะนี้ นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์ทางการตลาดที่ให้ความสำคัญกับ IoT ที่ผนวกรวมเข้ากับ Digital Lifestyle ทำให้ True เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับ SME ไปจนถึงธุรกิจระดับโลก อย่างไรก็ดีทั้ง AIS และ Dtac เองก็ยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของฐานลูกค้าในมือที่มากกว่า ซึ่งถ้าสามารถสร้างนวัตกรรมหรือบริการที่มีประโยชน์ได้จริงแล้วก็น่าจะเพิ่มรายได้ของตัวเองได้ ดังนั้นเชื่อได้ว่าเมื่อ True เริ่มพัฒนาโครงสร้างและบริการเหล่านี้ให้ดีมากขึ้นเท่าไหร่ ทั้ง 2 เจ้าก็คงต้องยิ่งเพิ่มการลงทุนและบริการให้มากขึ้นเพื่อให้แข่งขันได้และเพื่อไม่ให้เสียฐานลูกค้าในมือไป  ซึ่งผลดีจะตกอยู่ที่พวกเราและประเทศของเราที่จะมีนวัตกรรมใหม่ๆออกมาเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจและหวังว่าจะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนขึ้นได้ตาม roadmap Thailand 4.0   


มองย้อนกลับไป การที่ True ได้สัมปทานคลื่นใน ขณะที่มีฐานลูกค้าน้อยกว่าเจ้าอื่นกลายเป็นโชคดีของเราเพราะ ทำให้ True ต้องการที่จะลงทุนเพื่อพัฒนาให้คุ้มค่ากับคลื่นที่มีอยู่ในมือมากที่สุด รวมถึงต้องการดึงฐานลูกค้าจากเจ้าอื่นให้มาใช้บริการ True เพิ่มขึ้น ทำให้การแข่งขันโดยรวมสูงขึ้น และถือว่าเป็นการแข่งขันที่ดี ทำให้ทุกคนต้องพัฒนาทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มากขึ้นเพื่อแย่งส่วนแบ่งให้ได้มากที่สุด  ปี 2016 ที่ผ่านมาถือว่าอยู่ในช่วงของการสัมปทานคลื่น การทดสอบให้บริการและปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการของผู้บริการทั้ง 3 เจ้าเราอาจจะยังไม่เห็นความแตกต่างมากนัก แต่เชื่อได้ว่าในปี 2017 แนวโน้มของการลงทุนและการพัฒนาที่ค่อนข้างชัดเจนนี้น่าจะทำให้เราได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆรวมถึงได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ชนะในทางธุรกิจแต่เราในฐานะผู้รับบริการย่อมจะได้รับประโยชน์จากการแข่งขันนี้แน่นอน ดังนั้นการแข่งขันที่แข่งกันสร้างบริการและนวัตกรรมคือสิ่งที่จะทำให้เราไปถึง Thailand 4.0 ได้ อย่างไรก็ดีประเทศไทยจะสามารถไปถึง Thailand 4.0 ตามที่หลายๆคนคาดหวังได้หรือไม่คงต้องรอดูกันต่อไป แต่ที่แน่ๆปี 2017 ที่กำลังจะถึงนี้เราน่าจะได้รับบริการที่ดีและได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆกันอย่างแน่นอน  

ข้อดี
                 - มีความเร็วที่สูงขึ้น
                 - สามารถใช้งานแบบไร้สายได้

            ข้อเสีย
                 - มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงมาก


---------------------------------------
บทความโดย : techmoblog.com