วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ใบงานที่ 3 บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร (เทคโนโลยี 4G ในประเทศไทย)

เทคโนโลยี 4G ในประเทศไทย



เทคโนโลยี 4G สามารถขยายขีดจำกัดของสมาร์ทโฟนออกไปได้อีกทั้งในด้านการติดต่อสื่อสารและมัลติมีเดีย และเทคโนโลยีนี้เองที่จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขประตูไปสู่ยุคใหม่ของเศรษฐกิจและไลฟ์สไตล์ แต่สุดท้ายแล้ว ใครกันที่จะได้กุญแจดอกนี้ไปครอง?
จุดเริ่มต้นของ 4G LTE ในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อราวๆ 3 ปีมาแล้ว เมื่อ TrueMove H ได้เปิดให้บริการ 4G ครั้งแรกอย่างจริงจังในไทย โดยให้บริการบนคลื่นความถี่ 2100MHz ความกว้าง 10Mhz จะเรียกว่า True คือผู้บุกเบิก 4G ในประเทศไทยก็ว่าได้
จุดพลิกผันสำคัญของวงการ 4G ในประเทศไทยเกิดขึ้นในปลายปี 2015 เมื่อทาง กสทช. ได้เปิดประมูลสัมปทานการให้บริการคลื่น 4G 900MHz ซึ่งยักษ์ใหญ์ทั้ง 3 ค่ายอย่าง AIS, Dtac และ True ต่างก็ตบเท้าเข้ามาร่วมประมูลกันอย่างพร้อมหน้า อีกทั้งยังมี JAS น้องใหม่ของวงการเข้ามาร่วมวงด้วย การประมูลจึงเป็นไปด้วยความดุเดือดชนิดไม่มีใครยอมใคร หลังจากที่ต่อสู้ยืดเยื้อมานานกว่า 87 ชั่วโมงในที่สุด JAS และ True ก็ชนะการประมูลไป แต่ในเวลาต่อมา JAS กลับไม่สามารถหาเงินมาชำระกับทาง กสทช. ในงวดแรกได้ในเวลาที่กำหนด AIS จึงเข้าไปรับช่วงต่อคลื่นความถี่แทนแบบส้มหล่น ส่วน Dtac นั้นถอนตัวออกจากการประมูลไปกลางคันทำให้มีอนาคตค่อนข้างน่าเป็นห่วง เนื่องจากคลื่นที่ Dtac ถืออยู่ตอนนี้ทั้ง 850MHz และ 1800MHz จะหมดอายุในปี 2018 หากไม่มีการเปิดประมูลคลื่นที่หมดอายุไปแล้วให้นำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคตอันใกล้ Dtac จะเหลือคลื่นความถี่ 2100 MHz ไว้ให้บริการเท่านั้น ซึ่งจะเสียเปรียบคู่แข่งอย่างมาก
ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการประมูลในครั้งนี้ไปเต็มๆ คือ True เนื่องจากแต่เดิมก็ถือทั้งคลื่น 850MHz และ 2100MHz อยู่แล้ว เมื่อได้คลื่น 900MHz จากการประมูลครั้งล่าสุดและคลื่น 1800MHz จากการประมูลก่อนหน้านี้มาเสริมทัพเข้าไปอีกทำให้ตอนนี้ True กลายเป็นผู้ให้บริการที่ถือครองคลื่นความถี่มากที่สุดในทุกค่าย และยังมีแบนด์วิธกว้างที่สุด (55MHz) อีกด้วย

ตารางสรุปการถือครองคลื่นของเอกชนในประเทศไทย โดยคุณ @yoware ล่าสุดคลื่น 900MHz ของ JAS ตกไปอยู่ในมือของ AIS เรียบร้อยแล้ว
การถือครองย่านความถี่ครอบคลุมถึง 4 คลื่นนี้เองทำให้ True ค่อนข้างได้เปรียบมากในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 4G ในประเทศไทย โดยต่อยอดออกมาเป็น Truemove H 4G+ ซึ่งยกระดับของ 4G ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการนำคลื่นแต่ละย่านความถี่มามัดรวมกันในลักษณะ Carrier Aggregation (CA) ซึ่งเรียกว่า 3CA ซึ่ง TrueMove H เป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในไทย ณ. ขณะนี้ และเพิ่มอัตราการส่งสัญญาณด้วย 4x4 MIMO ซึ่งทำความเร็วได้สูงสุด 300 Gbps และในอนาคตสูงสุดได้ถึง 1Gbps เลยทีเดียว แต่ในขณะเดียวกัน AIS ก็ได้เปิดตัว AIS 4.5G ออกมาแข่งขันกับ True เช่นกันถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความใกล้เคียงกัน แต่ยังรวมคลื่นได้น้อยกว่า True 3CA (รวม 3 คลื่น) AIS 2CA (รวม 2 คลื่น) เนื่องจากจำนวนคลื่นที่ถือครอง True นั้นมีมากกว่าทำให้ตอนนี้ True ดูจะมีภาษีดีกว่าในสังเวียน 4G นี้
4G กับ Internet of Things ในประเทศไทย
Internet of Things (IoT) คืออะไร ? ถ้าจะอธิบายง่ายๆเราจะเห็นว่าปัจจุบันนี้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ไม่ได้มีเพียงแค่คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตอีกต่อไป แต่ยังมีแก็ดเจ็ตอีกหลายอย่าง เช่น Smart TV, Smartwatch, รถยนต์และอื่นๆ อีกมากมาย การมองการเชื่อมต่อในภาพใหญ่ทั้งหมดนี่แหล่ะที่เราเรียกกันว่า Internet of Things (IoT)  ถ้าเราสามารถสร้างนวัตกรรมบนพื้นฐานของ IoT ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตสิ่งนี้จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของคนรุ่นใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ใครที่เล็งเห็นโอกาสตรงนี้และคว้าเอาไว้ได้ก่อนก็จะได้เปรียบคู่แข่งไปอีกก้าว  ณ.ขณะนี้ผู้ที่ให้ความสำคัญกับ IoT ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คงจะเป็น True ที่มีทั้ง Car WiFi, CCTV, Kidz Watch และแก็ดเจ็ตอื่นๆ ซึ่งในส่วนของอีก 2 เจ้านั้นยังไม่เห็นอย่างเป็นรูปธรรมมากนัก นอกจากสัญญาณ 4G+ แล้ว True มีเครือข่าย WiFi กว่า 160,000 จุดทั้งประเทศ ที่ถือว่าเป็นจุดแข็งทำให้ True มี Digital Infrastructures ที่แข็งแรงและมีประสิทธิภาพเป็นอันดับต้นๆ จุดเดียวที่ทำให้ True ดูจะเสียเปรียบคู่แข่งน่าจะเป็นเรื่องของฐานผู้ใช้ที่อาจจะน้อยกว่า AIS และ Dtac แต่เมื่อดูจากการลงทุนปรับปรุงเครือข่ายและ infrastructure อื่นๆ ตามกลยุทธ์ที่ True วางไว้เชื่อว่าทั้ง 2 เจ้าถ้าไม่ขยับเข้ามาอย่างจริงจังอาจจะเสียฐานลูกค้าให้กับ True ในอนาคตก็เป็นได้ 

ใครจะพาประเทศไทยไปถึง 4.0?
อย่างที่กล่าวไปตั้งแต่ต้นว่า เทคโนโลยี 4G เป็นดั่งกุญแจสำคัญที่จะไขประตูไปสู่ประเทศไทย 4.0 แม้ว่าทั้ง AIS, Dtac และ True จะให้บริการ 4G LTE เหมือนกัน แต่หากมองดูโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรที่มีอยู่ในครอบครองแล้ว True ดูจะได้เปรียบกว่าเจ้าอื่นๆ เพราะมีคลื่นความถี่ถึง 4 ย่านด้วยกัน และยังมีแบนด์วิธถึง 55 MHz ซึ่งมากที่สุดณ.ขณะนี้ นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์ทางการตลาดที่ให้ความสำคัญกับ IoT ที่ผนวกรวมเข้ากับ Digital Lifestyle ทำให้ True เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับ SME ไปจนถึงธุรกิจระดับโลก อย่างไรก็ดีทั้ง AIS และ Dtac เองก็ยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของฐานลูกค้าในมือที่มากกว่า ซึ่งถ้าสามารถสร้างนวัตกรรมหรือบริการที่มีประโยชน์ได้จริงแล้วก็น่าจะเพิ่มรายได้ของตัวเองได้ ดังนั้นเชื่อได้ว่าเมื่อ True เริ่มพัฒนาโครงสร้างและบริการเหล่านี้ให้ดีมากขึ้นเท่าไหร่ ทั้ง 2 เจ้าก็คงต้องยิ่งเพิ่มการลงทุนและบริการให้มากขึ้นเพื่อให้แข่งขันได้และเพื่อไม่ให้เสียฐานลูกค้าในมือไป  ซึ่งผลดีจะตกอยู่ที่พวกเราและประเทศของเราที่จะมีนวัตกรรมใหม่ๆออกมาเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจและหวังว่าจะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนขึ้นได้ตาม roadmap Thailand 4.0   


มองย้อนกลับไป การที่ True ได้สัมปทานคลื่นใน ขณะที่มีฐานลูกค้าน้อยกว่าเจ้าอื่นกลายเป็นโชคดีของเราเพราะ ทำให้ True ต้องการที่จะลงทุนเพื่อพัฒนาให้คุ้มค่ากับคลื่นที่มีอยู่ในมือมากที่สุด รวมถึงต้องการดึงฐานลูกค้าจากเจ้าอื่นให้มาใช้บริการ True เพิ่มขึ้น ทำให้การแข่งขันโดยรวมสูงขึ้น และถือว่าเป็นการแข่งขันที่ดี ทำให้ทุกคนต้องพัฒนาทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มากขึ้นเพื่อแย่งส่วนแบ่งให้ได้มากที่สุด  ปี 2016 ที่ผ่านมาถือว่าอยู่ในช่วงของการสัมปทานคลื่น การทดสอบให้บริการและปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการของผู้บริการทั้ง 3 เจ้าเราอาจจะยังไม่เห็นความแตกต่างมากนัก แต่เชื่อได้ว่าในปี 2017 แนวโน้มของการลงทุนและการพัฒนาที่ค่อนข้างชัดเจนนี้น่าจะทำให้เราได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆรวมถึงได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ชนะในทางธุรกิจแต่เราในฐานะผู้รับบริการย่อมจะได้รับประโยชน์จากการแข่งขันนี้แน่นอน ดังนั้นการแข่งขันที่แข่งกันสร้างบริการและนวัตกรรมคือสิ่งที่จะทำให้เราไปถึง Thailand 4.0 ได้ อย่างไรก็ดีประเทศไทยจะสามารถไปถึง Thailand 4.0 ตามที่หลายๆคนคาดหวังได้หรือไม่คงต้องรอดูกันต่อไป แต่ที่แน่ๆปี 2017 ที่กำลังจะถึงนี้เราน่าจะได้รับบริการที่ดีและได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆกันอย่างแน่นอน  

ข้อดี
                 - มีความเร็วที่สูงขึ้น
                 - สามารถใช้งานแบบไร้สายได้

            ข้อเสีย
                 - มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงมาก


---------------------------------------
บทความโดย : techmoblog.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น